สืบเนื่องมาจากเอ็นทรี่ก่อนครับ มีการยกตัวอย่างถึงปฏิปทาบางอย่างในพระไตรปิฎกเรื่องพระโปฐิละ หรือเถรใบลานเปล่า แล้วมีคนเข้าใจว่า การหลับหูหลับตาทำตามที่ครูบาอาจารย์สั่งสอนนั่นเป็นปฏิปทาที่ถูกต้อง ส่วนใหญ่ถูกต้องครับ แต่ไม่เสมอไป ทุกอย่างในโลกนี้ล้วนมีข้อยกเว้น
ตัวอย่างที่เห็นชัด ๆ ของผู้ที่หลับหูหลับตาเชื่อฟังครูบาอาจารย์แล้วได้เลว ก็มีในพระไตรปิฎกเช่นกัน คือเรื่องขององคุลีมาลเถระ ท่านแม่มโคตรเซียนครับ ไปเรียน ป.เอก วิชาศิลปศาสตร์ในสำนักตักกศิลา หากเทียบเป็นปัจจุบันก็คงเรียนจบฮาร์เวิร์ดผสมอ็อกฟอร์ด แล้วตบท้ายด้วย MIT นั่นละครับ หัวดีมั่ก ๆ ครูบาอาจารย์ก็รักใคร่ ครั้นแล้ววิบากไม่เข้าใครออกใครครับ ขนาดพ่อตั้งชื่อให้เป็นกุศลเพียงใด (ชื่ออหิงสกะ แปลว่า ผู้ไม่เบียดเบียน) สุดท้ายอาจารย์ทิศาปาโมกข์เองนั่นแล ถูกศิษย์ร่วมสำนักที่อิจฉาอหิงสกะ เป่าหูเสียจนเข้าใจว่า อหิงสกะปองร้ายตน เลยสอนอหิงสกะว่า หากต้องการสำเร็จวิชาซุปเปอร์ไซย่าสาม ต้องไปฆ่าคนมา ๑,๐๐๐ คน เฮียแกหลงเชื่อก็ไล่ฆ่าดะ ฆ่ามากเข้าก็งง จำไม่ได้ว่า ฆ่าไปกี่คนแล้ว เลยใช้วิธีหั่นนิ้วศพมาทำเป็นมาลัยคล้องคอจักได้ทราบว่า ฆ่าไปกี่คนแล้ว เลยเป็นที่มาของฉายา "องคุลิมาล" ผู้เอานิ้วมาร้อยเป็นมาลัย ภายหลังได้พบพระพุทธองค์ และได้บรรลุธรรม ตามที่คงทราบกันอยู่แล้ว
ภาพประกอบจาก : http://www.galaxzydvd.com
ในกาลามสูตรพระองค์ก็แสดงว่า อย่าเชื่อกระไรง่าย ๆ ๑๐ ประการ ก็แล้วไฉนในเรื่องของพระโปฐิละกลับเชื่อปฏิบัติตามอย่างไม่ต้องพินิจพิจารณา แล้วได้ดี ตกลงเอาอย่างไรแน่? พระไตรปิฎกขัดกันเองหรือเปล่า?
ขออ้างถึงเม้นท์ในเอ็นทรี่ก่อนสักหน่อย... ครั้งหนึ่งพระพุทธเจ้าทรงแสดงพระธรรมเทศนาแล้ว ทรงต้องการแสดงปฏิปทาของพระสารีบุตร จึงทรงมีพระพุทธฎีกาตรัสถามพระสารีบุตรว่า "สารีปุตตะ ดูก่อน สารีบุตร เธอเชื่อสิ่งที่ตถาคตแสดงหรือ?"
พระสารีบุตรทูลตอบว่า "ไม่เชื่อ พระพุทธเจ้าข้า"
เหล่าภิกษุปุถุชนอึงมี่ขึ้นด้วยเข้าใจว่า พระอัครสาวกเบื้องขวาชักจะยังไงเสียแล้ว ได้รับการแต่งตั้งจนสูงส่งแล้วคิดทำตัวกระด้างกระเดื่องไม่เชื่อฟังพระบรมศาสดาเสียแล้วหรือนี่?
สมเด็จพระชินสีห์ศากยมุนีจึงทรงปรารภว่า "ภิกขเว ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ลองฟังพระสารีบุตรดูก่อนว่า เธอคิดอย่างไร สารีปุตตะ ดูก่อน สารีบุตร เธอคิดอย่างไรจึงไม่เชื่อ"
พระธรรมเสนาบดีสารีบุตรทูลตอบว่า "ข้าพระพุทธเจ้าต้องขอลองนำไปปฏิบัติดูก่อน เมื่อการปฏิบัติมีผลแล้ว ข้าพระพุทธเจ้าถึงเชื่อ พระพุทธเจ้าข้า"
พระบรมศาสดาทรงยกพระหัตถ์ "สาธุ ๆ ดีแล้ว ๆ ขอภิกษุทั้งหลายจงดูไว้เป็นแบบอย่าง การน้อมใจเชื่อบุคคลที่ควรเชื่อ ที่ชื่อว่า อธิโมกข์ศรัทธานั้นก็มีดีอยู่ แต่เราตถาคตสรรเสริญการเชื่อด้วยได้ทดลองปฏิบัติด้วยตนเองแล้ว ยิ่งกว่า"
เห็นได้ชัดว่า พระพุทธเจ้ามิได้ทรงสรรเสริญการเชื่อโดยปราศจากการพิจารณา และทดลองทำ
ปัญหาคือปัจจุบันผู้คนมักคิด ๆ เอา นึก ๆ เอา จินตนาการเอา แล้วก็คาดเดาว่า มันคงเป็นเช่นนั้น มันคงเป็นเช่นนี้ โดยมิได้ทดลองทำด้วยตนเอง ไปฟังไปอ่าน "เขาว่ามา" แล้วก็มาถกเถียงกันหน้าดำคร่ำเครียดเอาเป็นเอาตาย เป็นกูรูกันอยู่หน้าจอคอมฯนั่นเอง
หลักเหตุผลนั้นก็ใช้ได้อยู่ แต่ไม่ทุกกรณี บางอย่างก็อยู่นอกเหตุเหนือผล บางอย่างต้องอธิบายเสียปีหนึ่งกว่าจักเข้าใจ แต่หากลงมือทำเพียง ๑๕ นาทีก็เข้าใจแล้ว จึงว่า บางอย่างเป็น "ปัจจัตตัง วิญญูหีติ" วิญญูชน หรือผู้ปฏิบัติพึงรู้เฉพาะตน พึงทราบด้วยตนเอง
พระสารีบุตรทูลตอบว่า "ไม่เชื่อ พระพุทธเจ้าข้า"
เหล่าภิกษุปุถุชนอึงมี่ขึ้นด้วยเข้าใจว่า พระอัครสาวกเบื้องขวาชักจะยังไงเสียแล้ว ได้รับการแต่งตั้งจนสูงส่งแล้วคิดทำตัวกระด้างกระเดื่องไม่เชื่อฟังพระบรมศาสดาเสียแล้วหรือนี่?
สมเด็จพระชินสีห์ศากยมุนีจึงทรงปรารภว่า "ภิกขเว ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ลองฟังพระสารีบุตรดูก่อนว่า เธอคิดอย่างไร สารีปุตตะ ดูก่อน สารีบุตร เธอคิดอย่างไรจึงไม่เชื่อ"
พระธรรมเสนาบดีสารีบุตรทูลตอบว่า "ข้าพระพุทธเจ้าต้องขอลองนำไปปฏิบัติดูก่อน เมื่อการปฏิบัติมีผลแล้ว ข้าพระพุทธเจ้าถึงเชื่อ พระพุทธเจ้าข้า"
พระบรมศาสดาทรงยกพระหัตถ์ "สาธุ ๆ ดีแล้ว ๆ ขอภิกษุทั้งหลายจงดูไว้เป็นแบบอย่าง การน้อมใจเชื่อบุคคลที่ควรเชื่อ ที่ชื่อว่า อธิโมกข์ศรัทธานั้นก็มีดีอยู่ แต่เราตถาคตสรรเสริญการเชื่อด้วยได้ทดลองปฏิบัติด้วยตนเองแล้ว ยิ่งกว่า"
เห็นได้ชัดว่า พระพุทธเจ้ามิได้ทรงสรรเสริญการเชื่อโดยปราศจากการพิจารณา และทดลองทำ
ปัญหาคือปัจจุบันผู้คนมักคิด ๆ เอา นึก ๆ เอา จินตนาการเอา แล้วก็คาดเดาว่า มันคงเป็นเช่นนั้น มันคงเป็นเช่นนี้ โดยมิได้ทดลองทำด้วยตนเอง ไปฟังไปอ่าน "เขาว่ามา" แล้วก็มาถกเถียงกันหน้าดำคร่ำเครียดเอาเป็นเอาตาย เป็นกูรูกันอยู่หน้าจอคอมฯนั่นเอง
หลักเหตุผลนั้นก็ใช้ได้อยู่ แต่ไม่ทุกกรณี บางอย่างก็อยู่นอกเหตุเหนือผล บางอย่างต้องอธิบายเสียปีหนึ่งกว่าจักเข้าใจ แต่หากลงมือทำเพียง ๑๕ นาทีก็เข้าใจแล้ว จึงว่า บางอย่างเป็น "ปัจจัตตัง วิญญูหีติ" วิญญูชน หรือผู้ปฏิบัติพึงรู้เฉพาะตน พึงทราบด้วยตนเอง
ดังนี้ก็อาจสรุปได้ว่า พระพุทธองค์ทรงสรรเสริญการใคร่ครวญพินิจพิจารณา และการลงมือทดลองทำ แล้วกรณีพระโปฐิละเล่า ยังไงดี? จากการศึกษาปฏิปทาของครูบาอาจารย์หลายท่าน เวลาไปขอเป็นลูกศิษย์ หรือขอกรรมฐาน ก็ต้องทำอย่างพระโปฐิละนี่ละครับ คือช่วงที่ศึกษาหาข้อเท็จจริง (เกี่ยวกับตัวอาจารย์ที่ตั้งใจจักไปฝากตัวเป็นลูกศิษย์ และธรรมะของท่าน) ก็สมควรใช้ปฏิปทาแบบพระสารีบุตร คือรับข้อมูลมาแล้วทดลองปฏิบัติด้วยตนเองก่อน แล้วจึงเชื่อ ครั้นเมื่อพิสูจน์จนหนำใจแล้ว เชื่อมั่นคงแล้ว ศรัทธาแก่กล้าแล้ว ถึงเวลาปฏิบัติเพื่อมรรค ผล นิพพาน มิใช่มัวนั่งสงสัยนู่นสงสัยนี่อยู่ ในการปฏิบัติ ความสงสัยกลายเป็นอุปสรรคขัดขวางความดีตัวสำคัญชื่อว่านิวรณ์ ๕ มีวิจิกิจฉา ความลังเลสังสัยในผลของการปฏิบัติ เป็นต้น
ครูบาอาจารย์ท่านหนึ่งเป็นพระโพธิสัตว์บารมีเต็มบอกลูกศิษย์ว่า "ถ้าจะเรียนกับฉัน ต้องเรียนแบบคนโง่นะ" กล่าวคือ ไม่ต้องสงสัยกระไรให้มากความ สั่งอย่างไร สอนอย่างไร ทำอย่างนั้น เมื่อถึงขีดจำกัดของมัน ผลจักเกิดเอง หากเรียนแบบคนฉลาดเกิน สงสัยลังเลไปทุกเรื่อง เอ๊ะ... อาจารย์สอนให้เราทำอย่างนี้ทำไม? เพื่อกระไร? เอ๊ะ... ทำไมปฏิบัติตั้งนานแล้ว ไม่เห็นมีผลกระไร? การปฏิบัติมีผลจริงเหรอ? ฯลฯ อย่างนี้ก็คงเอาดีกระไรมิได้
อีกประการหนึ่งครับ การที่ครูบาอาจารย์จักยอมรับใครสักคนเป็นลูกศิษย์ นั่นหมายถึงภาระที่เพิ่มขึ้น เป็นการให้เปล่าโดยมิได้หวังสิ่งตอบแทน ต้องทุ่มเทสั่งสอน ดูแลกันแทบ ๒๔ ชั่วโมง ต้องยอมเหนื่อยกายเหนื่อยใจ ครูบาอาจารย์ที่ดีจึงไม่ค่อยรับลูกศิษย์ง่าย ๆ หากจักรับก็มักเป็นดั่งวลีที่ใช้สมาทานพระกรรมฐาน "ข้าพเจ้าขอมอบกายถวายชีวิตแด่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า..." การปฏิบัติเพื่อความพ้นทุกข์นั้น ต้องเอาชีวิตเข้าแลกครับ จักมัวมาลังเลสงสัยไม่ได้เลย
ธรรมที่ไม่ต้องทดลองทำ
และแม้พระพุทธองค์จักทรงสรรเสริญปฏิปทาการพิสูจน์ทราบแบบพระสารีบุตร กระนั้นก็มีข้อยกเว้นอีกครับ ธรรมบางอย่างก็ไม่จำเป็นต้องทดลองทำ เพราะผลของมันรุนแรงจนยากจักแก้ไข เช่นการทดลองตกนรก อันนี้ไม่ต้องทดลองก็ได้ครับ คนเรามีปกติลงที่ต่ำอยู่แล้ว ไม่ต้องพยายามลง มันก็ทำท่าจักลงอยู่แล้ว ไปดูหนังเศร้า ๆ แล้วเศร้าตามหนัง นั่นท่านทดลองไปใช้ชีวิตในอบายเรียบร้อยแล้ว (เกิดหัวใจวายปัจจุบันทันด่วนในโรงหนัง ก็ไปอบายเลยครับ) ไม่ต้องลงไปจริงดอก เพราะนรกขุมตื้นที่สุดนี่มีอายุ ๙ ล้านปี ลึกสุดอายุกัปหนึ่ง (กัปปัจจุบันเรียก "ภัทรกัป" เพราะมีพระพุทธเจ้ามาอุบัติ ๕ พระองค์ นั่นหมายความว่า ตกนรกลึกสุดไปทีพระพุทธเจ้าอุบัติแล้ว ๕ พระองค์ บางทีก็ยังไม่ขึ้นมา) หรืออย่างอนันตริยกรรม ฆ่าพ่อ ฆ่าแม่ ฆ่าพระอรหันต์ ไม่ต้องทดลองทำก็ได้ครับ คิดพิจารณาใคร่ครวญเอาก็พอ (ซึ่งเจ้าของคอมเม้นท์ก็อาจจักสงสัยอีกว่า แล้วทำไมเรื่องอื่นต้องทดลองทำเอง คิดพิจารณาเอาก็พอ มิได้หรือ? มีอะไรเป็นเกณฑ์วัดว่าเรื่องใดควรทดลองทำเอง เรื่องใดพิจารณาเอาก็พอ หลักคร่าว ๆ คือ สิ่งที่ทดลองทำได้ คือสิ่งที่ไม่เป็นโทษจนเกินไป ไม่เป็นโทษที่ไม่สามารถแก้ไขได้ ทั้งต่อตนเองและผู้อื่น แต่ในคอมเม้นท์นี่ เขียนเป็นอีกอย่างได้ว่า 'พระไม่เคยลองอาบัติปาราชิก แล้วทราบได้อย่างไรว่า อาบัติปาราชิกไม่ดี แล้วมีสิทธิอะไรไปห้ามผู้อื่นทั้งที่ยังไม่ได้ลอง' เจ้าของคอมเม้นท์ต้องกลับไปศึกษาใหม่ให้ดีครับ กระทั่งสมเด็จพระผู้มีพระภาคยังตรัสว่า 'อักขาตาโร ตถาคตา' ซึ่งแปลเป็นใจความว่า ตถาคตเป็นเพียงผู้บอก ข้าพเจ้าเป็นเพียงลูกของพระองค์จักไปทำเกินพระองค์บังคับใครได้ ศีลนี่เป็น "ข้อควรเว้น" เป็นคำแนะนำมิใช่ "ข้อห้าม" ครับ และอาบัติปาราชิกนี่ก็เทียบเท่าการบอกให้ไปตาย ตายจากผ้าเหลือง หมดความเป็นพระอย่างไม่มีทางแก้ไข บวชอีกก็ไม่เป็นพระ เสียเปล่าไป ๑ ชาติ ชาติต่อไปต้องไปใช้กรรมในนรก โทษมากขนาดนี้คงคิดได้เองว่า สมควรทดลองทำหรือไม่ครับ เรื่องวิพากษ์วิจารณ์ อุปมาเหมือนนักวิจารณ์รถครับ หากนักวิจารณ์ได้แต่จด ๆ จ้อง ๆ ดูรถอยู่แต่ภายนอก ก็วิจารณ์ได้แค่รูปร่างสวย เครื่องยนต์น่าจักแรง เบรคน่าจักดี เข้าโค้งคงเกาะหนึบ มีแต่การคาดการณ์ทั้งสิ้น ไม่สามารถวิจารณ์ได้อย่างน่าเชื่อถือหนักแน่นมั่นคงว่า เครื่องยนต์แรง อัตราเร่งดี เบรคเป็นเยี่ยม เข้าโค้งเป็นยอด เพราะยังไม่ได้ลองขับ การวิจารณ์เรื่องอื่น ๆ ก็เช่นกัน มัวแต่จด ๆ จ้อง ๆ อยู่ภายนอก แล้วก็มาวิจารณ์ได้เป็นคุ้งเป็นแคว นี่ละครับ กูรูหน้าคอมฯที่ข้าพเจ้ากล่าวถึง)
เรื่องนี้ขอพาดพิงไปอีกเรื่อง สมัยที่ออกข่าวใหม่ ๆ มีคนอยากให้วิจารณ์นานแล้วคือเรื่องของมาร์ค ซัคเคอร์เบิร์ก ศาสดาโซเชี่ยลเน็ทเวิร์คเฟสบุ๊คอันแสนโด่งดังที่ทดลองฆ่าสัตว์ที่ตัวเองกิน ด้วยมือของตัวเองเท่านั้น บ้างก็เห็นด้วยในความคิดอันแสนครีเอท บวกกับคนรวยทำอะไรก็ไม่น่าเกลียด (ชาวเขาก็ฆ่าสัตว์ที่ตัวเองกินแทบทุกตัวเหมือนกัน ไม่เห็นเป็นข่่าว) บ้างก็ไม่เห็นด้วยว่าเป็นบาป รวยแทบตายสุดท้ายตกนรกแน่นอน
ภาพประกอบจาก : http://news.sanook.com
เอาประเด็นของผู้ที่เห็นด้วยก่อน สอบถามจากผู้ที่ไปใช้ชีวิตในสหรัฐอเมริกามา ๗ ปี เขาค่อนข้างเห็นด้วยครับ เพราะคนอเมริกันนี่ แทบไม่เคยได้เห็นสัตว์ที่ถูกฆ่าเลย เห็นแต่มันมาเป็นแพ็ค ๆ เนื้อเป็นชิ้น ๆ แปรรูปมาเรียบร้อยแล้วทั้งสิ้น ทำให้ขาดสำนึก หรือตระหนักถึงสัตว์ที่ถูกฆ่าเพราะเราชอบกินเนื้อสัตว์ ผู้ที่เห็นด้วยก็ออกมาให้ความเห็นว่า การที่เราเลี่ยงไปซื้อเนื้อสัตว์ที่แปรรูปแล้ว มันก็เหมือนยืมมือคนอื่นฆ่านั่นแล ไม่ต่างจากลงมือฆ่าเอง
พูดเรื่องนี้คงต้องมาทำความเข้าใจกับศีล ๕ กันก่อน
ในฐานสูตร พระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุ ทั้งหลาย ศีลพึงรู้ได้ด้วยการอยู่ร่วมกัน และศีลนั้นพึงรู้ได้ด้วยกาลนาน ไม่ใช่เล็กน้อย มนสิการ (คิดใคร่ครวญอย่างแยบคาย) อยู่จึงจะรู้ ไม่มนสิการอยู่หารู้ไม่ คนมีปัญญาจึงจะรู้ คนมีปัญญาทรามหารู้ไม่
ศีล แปลว่า "ปกติ" ครับ แสดงว่า ผู้มีศีล ๕ คือผู้ที่มีปกติไม่ฆ่าสัตว์ ไม่เบียดเบียนสัตว์
ปาณาติปาตาเวรมณี มิใช่ไม่ฆ่าสัตว์ ไปอยู่ถ้ำ กินแต่พืช หรืออยู่เฉย ๆ ก็รักษาศีลข้อนี้ได้ แต่ต้องมี "เจตนา" เว้นจากการฆ่าสัตว์ ต่างหาก ทำนองแม้มีโอกาสฆ่า หรือฆ่าได้ ก็ไม่ฆ่า (สัตว์เดรัจฉานส่วนใหญ่เลยรักษาศีลไม่ได้ เพราะไม่มีเจตนา "เว้น")
มามนสิการอ่านข้อความในพระสูตรกันอีกครั้ง
"ศีลพึงทราบด้วยการอยู่ร่วมกัน"
ทำไมหนอถึงทราบด้วยการอยู่ร่วมกัน????? ติ๊กต่อก ๆ ๆ ๆ คิดสิคิดสิคิดสิคิด...
ปิ๊งป่อง!!! จากการพินิจคิดใคร่ครวญอยู่เป็นเวลานาน พบว่า วัตถุประสงค์ของศีลคือการไม่เบียดเบียนกันในสังคมนั่นเอง ฉะนั้นจึงมีคำพูดที่ว่า "หากเราทุกคนในสังคมรักษาศีล ๕ แล้วไซร้ สังคมจักสงบสุข"
ศีลจึงเป็นเรื่องของการนึกถึงผู้อื่นก่อนตัวเอง อีกนัยหนึ่ง ก็คือพรหมวิหาร ๔ นั่นเอง พรหมวิหาร ๔ คือกระไร? คือ เมตตา-ความรัก รักผู้อื่นเหมือนรักตัวเอง อยากให้ผู้อื่นมีความสุขเหมือนตัวเอง กรุณา-ความสงสาร เห็นผู้อื่นกำลังประสบทุกข์ อยากให้ผู้อื่นพ้นจากทุกข์ที่ยังประสบอยู่ มุทิตา-ความพลอยยินดี เห็นผู้อื่นได้ดี ก็ยินดีด้วย อุเบกขา-เมื่อผู้อื่นประสบทุกข์แล้วเราไม่อาจช่วยได้ ก็ต้องปล่อยวาง ระลึกไว้ว่า กมฺมุนา วตฺตตี โลโก สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม
ครูบาอาจารย์กล่าวไว้เลยครับ เมื่อมีพรหมวิหารอยู่ประจำจิต ศีลก็บริสุทธิ์เอง มาดแม้นไม่มีพรหมวิหารประจำใจ หาไฉนจักมีศีลได้
ผู้ที่เคยรักษาศีล ๕ เท่านั้นครับ ถึงจักมาเกิดเป็นคนได้ การมาเกิดเป็นมนุษย์ถึงยากนักหนา
ความเข้าใจในศีลนี้จักพาให้พลอยหมดข้อถกเถียงกันไปด้วย อย่างทั่นมาร์คนี่ก็เห็นได้ชัดเลยว่า ล่วงศีล เพราะแม้มีโอกาสไม่ฆ่า เขาก็เต็มใจจะฆ่าเอง
ตกนรกไหม?
มาดูเหตผลซัพพอร์ตการฆ่าของเขา เขาว่า เขาฆ่าเพื่อให้ไม่ละเลยต่อสำนึกที่ว่า เราเอาเนื้อของเขามากิน ทุกครั้งที่เรากินเนื้อสัตว์ คือเรากำลังเบียดเบียนชีวิตสัตว์อยู่ และเขาก็ทำอย่างนั้นได้จริง ๆ มีรายงานว่า การบริโภคเนื้อสัตว์ของเขาลดลงอย่างมาก
ผู้ที่ไม่เห็นด้วย ก็ออกความเห็นว่า เรื่องการทำบาปเช่นนี้ ไม่เห็นต้องลงมือทำเองเลย วีดีโอบนยูตูบหรือสารคดีก็สามารถหาซื้อมาดูได้ไม่ยากเย็น แค่เห็นภาพเนื้อเลือดแหวะ ๆ ก็กินไม่ลงแล้ว ทำไมต้องลงมือทำเรื่องโหดร้ายอย่างการฆ่าสัตว์ด้วย รนหานรกชัด ๆ ส่วนผู้ที่เห็นด้วย ก็ออกความเห็นว่า พวกที่ไม่ลงมือฆ่า แต่ยังกินเนื้อสัตว์อยู่ อย่ามาซึนเดเระ ยืมมือคนอื่นฆ่า มันก็บาปไม่ต่างกัน (แล้วยังมีความเห็นที่ว่า ฆ่าเพื่อกินบาปน้อยกว่าฆ่าเพื่อความสนุกสนาน อันนี้ก็มีส่วนจริงอยู่ แต่ไม่ควรนำมาเพิ่มประเด็นในการถกเถียงกัน จักสับสนไปกันใหญ่ หากฆ่าเพื่อกิน "ด้วยความจำเป็น" คือมิได้เต็มใจฆ่า ไม่สนุกไปกับการทำบาป อย่างนั้นบาปน้อยกว่าการฆ่าเพื่อความสนุกสนาน แต่ชื่อว่า "ฆ่า" แล้วไซร้ อย่างไรก็บาป)
ที่ไม่ต่างกันคือสัตว์หน่ะตายแน่ ๆ แต่บาปจักไปตกกับใครมากกว่าระหว่างคนฆ่ากับคนกิน
สาวลึกลงไปในศีลข้อปาณาติบาตครับ ท่านว่า จักล่วงศีลข้อนี้ได้ต้องมีองค์ประกอบครบทั้ง ๕ ได้แก่ (๑)สัตว์มีชีวิต (๒)รู้ว่าสัตว์มีชีวิต (๓)มีจิตคิดจะฆ่า (๔)พยายามฆ่า (๕)สัตว์ตายด้วยความพยายามนั้น ผู้ที่กินเนื้อสัตว์แต่ไม่ได้ลงมือฆ่าเอง จึงทำบาปข้อนี้ได้ไม่ครบองค์ คือไม่มีจิตคิดฆ่า ไม่ได้พยายามฆ่า และสัตว์ไม่ได้ตายด้วยความพยายามใดใด ส่วนทั่นมาร์คซัดไปเต็ม ๆ ทั้ง ๕ ข้อ
ลองวางทฤษฎีแล้วมาลองคิดตามตรรกะดูบ้าง ว่าใครบาป ใครไม่บาป บาปแค่ไหน ดูที่ความเศร้าหมองของจิตครับ ระหว่างคนนั่งกินแกงมัสมั่นเนื้อที่ร้านข้าวแกง กับคนที่ลงมือฆ่าวัว เพื่อเอาเนื้อมาทำแกงมัสมั่นกิน ใครจิตเศร้าหมองมากกว่ากัน
คงเคยได้ยินมาบ่อย ๆ เวลาวัวถูกนำขึ้นรถไปโรงฆ่าสัตว์ มันจักมีน้ำตาไหล เหมือนรู้ชะตากรรมตัวเอง ก็แล้วเราเป็นคนลงมือฆ่า แม้จักฆ่าด้วยเจตนาว่า จักได้ไม่ต้องกินเนื้อสัตว์ต่อไป แต่วินาทีที่ลงมือฆ่า ก็ต้องมีเจตนาทำให้ชีวิตเขาดับสูญ จริงไม่จริง? มันโหดร้ายไหมนั่น?
ลองเทียบเอากับพระวินัยครับ ทรงอนุญาตให้ภิกษุฉันปลาและเนื้อที่บริสุทธิ์ โดยเงื่อนไข ๓ ประการ คือ (๑) ไม่ได้เห็น (๒)ไม่ได้ฟัง (๓)ไม่ได้นึกรังเกียจว่าเขาฆ่าเพื่อให้ตนบริโภค เรื่องนี้ปรากฏในคัมภีร์พระวินัยปิฎก มหาวรรค ภาค ๒ เล่ม ๕ พิเคราะห์แล้วก็เห็นได้ชัดครับว่า พระพุทธองค์บัญญัติศีลไว้เพื่อความเป็นผู้เลี้ยงง่ายของภิกษุ (อีกนัยหนึ่งคือไม่เบียดเบียนโยมจนเกินไป) คฤหัสถ์จักนำสิ่งใดที่ถูกทำนองคลองธรรมมาถวายก็ให้ฉันอย่างนั้น แล้วเว้นบางอย่างไว้เพื่อความปลอดกังวลของภิกษุ
ครูบาอาจารย์สมัยปัจจุบันก็ให้ทัศนคติเรื่องนี้ไว้ครับว่า ใครจักเห็นว่า นี่เป็นเนื้อสัตว์ แต่ท่านเห็นเป็น "อาหาร" ตามบทพิจารณาอาหารก่อนบริโภคว่า ฉันเพียงเพื่อบรรเทาเวทนา และยังอัตภาพให้เป็นไปเพื่อประพฤติพรหมจรรย์เจริญสมณธรรม และหากจักเอาแนวคิดแบบสุดโต่งที่ชอบพูดกัน ท่านก็ว่า แล้วแมลงที่ต้องตายเพราะยาฆ่าแมลงด้วยการปลูกผักมาให้เรากินหล่ะ? อย่างนั้นไม่นับเป็นการฆ่าสัตว์ตัดชีวิตหรือ? อย่างนั้นยืมมือคนอื่นฆ่าหรือเปล่า? (ซึ่งก็อาจต่อประเด็นไปอีกไม่รู้จบว่า แมลงเป็นสัตว์หรือ? การฆ่าสัตว์เล็กสัตว์ใหญ่ต่างกันหรือไม่? ซึ่งเริ่มออกทะเล)
ยังไม่แน่ครับ มันขึ้นกับจิตสุดท้ายตอนจิตออกจากร่างว่า มันเศร้าหมองหรือไม่ ตามพระบาลีว่า จิตเต อสังกิลิฏเฐ สุคติ ปาฏิกังขาและจิตเต สังกิลิฏเฐ ทุคติ ปาฏิกังขา ซึ่งแปลเป็นใจความว่า หากจิตไม่เศร้าหมอง สุคติเป็นอันหวังได้ และหากจิตเศร้าหมอง ทุคติเป็นอันหวังได้
ซึ่งโดยทั่วไป คนที่ฆ่าสัตว์ เวลาใกล้ตายจักมีนิมิตของสัตว์ที่เคยฆ่ามาให้เห็น หากจิตจับการฆ่านั้น วับ!!! ไปอบายเลย แต่ถ้าเป็นคนมีปกติทำกุศล เวลาใกล้ตายจิตไม่จับอกุศล อย่างนี้ก็ไม่ตกนรก เห็นได้ชัดว่า จิตจักจับกระไรนั้น มันขึ้นกับ "ความประทับใจจอร์จ" ถ้าบาปหนึ่ง ๆ ทำให้เราประทับใจมากจนไม่อาจลืม เช่นการฆ่าคน ทำบุญทำกุศลกระไรอย่างไรก็ไม่ลืม อย่างนั้นหวังนรกได้เลยครับ ที่นี้ถ้าไปสงสัยแทนทั่นมาร์คว่า ทั่นจักไปไหน ก็ต้องไปนั่งในใจทั่น ทราบให้ได้ว่า ทั่นประทับใจจอร์จการฆ่าสัตว์เพียงไร
สรุปว่า การฆ่าสัตว์หรือการทำบาปทั้งปวงนั้น เลี่ยงได้ก็ควรเลี่ยงครับ ควรทำตามโอวาทปาติโมกข์ ไม่ทำบาปทั้งปวง ทำกุศลให้ถึงพร้อม และรักษาจิตให้ผ่องแผ้ว ไม่ควรไปทดลองตกนรก ธรรมบางอย่างก็ไม่จำเป็นต้องลอง
มาดูเรื่องของคนกินมังสวิรัติกันบ้าง
มักได้รับเหตุผลอย่างที่กล่าวไปเบื้องต้นว่า ฆ่าเองกับยืมมือคนอื่นฆ่า ก็ไม่ต่างกัน มันต่างกันแน่นอนครับ ตามเหตุผลที่เขียนไปแล้ว แล้วการกินมังสวิรัติ ไม่มีผลเลยหรือ? ในพระพุทธศาสนานิยามการปฏิบัติแบบนี้ว่าอย่างไร? เรื่องนี้ก็ยังคงวนอยู่เรื่องเดิมละครับ คือเรื่องของศีล ๕ บอกแล้วว่า ศีลมิใช่เรื่องเล็กน้อย ต้องมนสิการอยู่จึงเข้าใจ การกินมังสวิรัตินี้เป็นเรื่องของกำลังใจในการรักษาศีลครับ มี ๓ ระดับคือ ขั้นต้นไม่ล่วงศีลด้วยตนเอง ขั้นกลางไม่แนะนำให้ผู้อื่นล่วงศีล และไม่ยินดีเมื่อผู้อื่นล่วงศีลแล้ว อันเป็นกำลังใจการรักษาศีลขั้นปรมัตถ์
การกินมังสวิรัติโดยมีเจตนาไม่เบียดเบียนชีวิตสัตว์ (มิใช่เพื่อสนองอัตตาตัวตนว่า กรูดีกว่าคนอื่น อย่างนั้นไม่เอาห่วยครับ) เป็นการรักษาศีลขั้นปรมัตถ์ครับ คือ "ไม่ยินดีเมื่อผู้อื่นล่วงศีลแล้ว" ความเข้าใจตรงนี้สามารถนำไปแอ็พพลายใช้กับข้อสงสัยในการรักษาศีลข้ออื่นได้ ด้วย เช่น การซื้อของละเมิดลิขสิทธิ์เป็นการทุศีลข้ออทินนาทานหรือไม่? มีผู้ที่ข้าพเจ้าให้ความเชื่อถือวินิจฉัยไว้ครับว่า ไม่ผิดศีล (คงหมายถึงศีลขั้นต้น) กล่าวคือเราไม่ได้ไปขโมยสินค้านี้มาจากคนขาย คนที่ล่วงศีลคือคนที่ไปก๊อปต้นฉบับคนแรกแล้วเอามาขาย อ่านดูก็ถูกต้องตามหลักเหตุผลใช่ไหมครับ แต่ก็ยังรู้สึกแหม่ง ๆ อยู่ ครั้นเราเอาเรื่องกำลังใจในการรักษาศีลมาจับ ก็ชัดเจนเลยว่า ยังไม่ถึงขั้น "ไม่ยินดีเมื่อผู้อื่นล่วงศีลแล้ว" คือยังยินดีที่เขาไปละเมิดลิขสิทธิ์มาขายเรา อย่างนี้เป็นต้น
เห็นไหมครับว่าแค่เรื่องศีล ๕ อย่างเดียวมันละเอียดขนาดไหน? ที่ท่านว่า ศีล ๕ รักษาดี ๆ ก็ไปนิพพานได้ ไม่ผิดเลย
เรื่องของศีลผ่านไป มาดูเรื่องกฎหมายกันมั่ง อย่างที่เกริ่นไปตอนต้นว่า ศีลเป็นไปเพื่อการไม่เบียดเบียนกันในสังคม ซึ่งเป็นวัตถุประสงค์ที่ใกล้เคียงกับกฎหมายที่ใช้รักษาความสงบเรียบร้อยของสังคม ดังนั้นแม้ไม่ผิดศีลขั้นต้น แต่ดันไปผิดกฎหมาย ซึ่งสามารถทำให้มีคนเดือดร้อนอีกหลายฝ่าย เช่น เจ้าของลิขสิทธิ์ต้องไปบังคับให้เจ้าพนักงานกวาดล้าง เจ้าพนักงานต้องปฏิบัติตามหน้าที่อย่างเคร่งครัด ฯลฯ มันเลยกลายเป็นทุศีลแบบอ้อม ๆ
เมื่อไม่นานมานี้พบรุ่นพี่คนหนึ่งบน FB ไม่เชื่อว่านรกสวรรค์มีจริง การปรามาสภิกษุที่ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบสามารถพาให้ลงนรกได้จริง เตือนก็ไม่เชื่อ กลับตอบมาทำนอง "อย่ามาเ-ือกเรื่องของกรู" ด้วยบริบทแบบนุ่มนวลว่า "ไม่เป็นไรครับหลวงพี่ ทำเองก็เจ็บเองเป็นบทเรียน" แม้จักยกตัวอย่างให้สมจริงเพียงใดก็ตาม ดูเหตุการณ์แล้วก็ปล่อยไป เราได้ทำหน้าที่ของเราแล้ว
เวลาคนเราไม่มีศีล อะไร้อะไร้มันก็มัว ๆ ไปหมด กระไรที่เขาว่า ดี ๆ ก็เห็นเป็นเรื่องโบร่ำโบราณคร่ำครึงมงาย การจักแหวกความมัวของมิจฉาทิฏฐิออกมาได้ มิใช่เรื่องง่าย ทั้งรุ่นพี่คนนี้ยังเป็นอาจารย์ในมหาวิทยาลัยด้วย การแพร่กระจายแนวคิดความเห็นผิดเหล่านี้ออกไปเป็นวงกว้างผ่านทางเฟสบุ๊ค ก็ยิ่งทำให้เขามัวมากขึ้น ออกจากมิจฉาทิฏฐิได้ยากขึ้น บางทีอาจต้องลองลงนรกดูสักคราว แล้วคงระลึกกระไรขึ้นได้บ้าง
การทำงานของนรกนั้น นอกจากมีแต่ความทรมานอย่างที่รู้ ๆ กัน และเราเป็นผู้สร้างนรกขึ้นเองแล้ว อเมซซิ่งยิ่งกว่านั้น (ที่คนไม่ค่อยรู้กัน) คือ วิธีพ้นจากนรกครับ ในคิริมานนทสูตรกล่าวถึงวิธีพ้นนรกไว้ว่า "อันทุกข์ในนรกนั้น จะรู้ก็ตาม ไม่รู้ก็ตาม ถ้าทำกรรมที่เป็นบาปแล้ว ผู้ที่รู้หรือผู้ที่ไม่รู้ก็ตกนรกเหมือนกัน ถ้าไม่รู้จักนรกก็ยิ่งไม่มีเวลาพ้นจากนรกได้ ถึงจะทำบุญให้ทานสักปานใดก็ไม่อาจพ้นจากนรกได้ แต่มิใช่ว่าทำบุญให้ทานไม่ได้บุญ ความสุขที่ได้แต่การทำบุญนั้นมีอยู่ แต่ว่าเป็นความสุขที่ยังไม่พ้นจากทุกข์ในนรก เมื่อยังไม่รู้ไม่เห็นนรกตราบใด ก็ยังไม่พ้น จากนรกอยู่ตราบนั้น ครั้นได้เข้าถึงนรกแล้ว เมื่อได้รู้ทางออกจากนรกได้แล้วปรารถนาจะพ้นจากนรกก็พ้นได้ เมื่อไม่อยากพ้นก็ไม่อาจพ้นได้ ต้องรู้จักแจ้งชัดว่านรกอยู่ในที่นั้น ๆ มีลักษณะอาการอย่างนั้น ๆ และควรรู้จักทางออกจากนรกให้แจ้งชัด ทางออกจากนรกนั้นก็คือ ศีล ๕ ศีล ๑๐ ศีลพระปาติโมกข์นั่นเอง เมื่อรู้แล้วอยากจะออก ให้พ้นก็ออกได้ ไม่อยากจะออกให้พ้นก็พ้นไม่ได้ ผู้ที่รู้กับผู้ที่ไม่รู้ย่อมได้รับทุกข์ในนรกเหมือนกัน ส่วนความสุขในมนุษย์สวรรค์และพระนิพพานนั้นต้องรู้จึงจะได้"
จากพระสูตรนี้เอง อนุมานได้ว่า คนเราที่เป็นมิจฉาทิฏฐิ ก็ใช้ชีวิตอยู่ในนรกตั้งแต่ยังมีชีวิตอยู่นี่แล แต่ก็ไม่ได้รู้สึกว่า นี่เป็นนรก ยังสนุกสนานไปกับการทำบาป ล่วงอกุศลกรรมบถ ไม่เห็นโทษของมัน ก็เลยไม่รู้สึกต้องการพ้นจากนรก ไม่รู้จักนรก และไม่รู้จักวิธีพ้นจากนรก
ย้อนดูตัวเอง นี่เราเดินมาไกลแค่ไหนแล้วนะกว่าจักมาถึงจุดนี้ ผ่านการเป็นสัตว์นรกเสียหลายสิบปีตอนนี้พ้นหรือยังก็ไม่ทราบ กว่าจักเริ่มมีศรัทธา กว่าจักมาพยายามรักษาศีล ๕ กว่าจักออกบวช กว่าจักมีโอกาสได้ศึกษาพระศาสนาอย่างจริงจัง กว่าจักเริ่มค่อยถอดถอนตัวตน นึกถึงตัวเองตอนยังสำมะเลเทเมา ก็เป็นมิจฉาทิฏฐิเช่นนี้แหละ เดี๋ยววันหนึ่งเขาก็คิดได้เอง
ที่ยังสนุกอยู่ ก็เป็นไปได้ว่า เขาอาจห่างเหินการตกนรกมานานจนลืมไปแล้วว่ามันทรมานยังไง ธรรมบางอย่างไม่ต้องทดลองทำก็อาจดีกว่า แต่หากไม่เชื่อคำเตือน ก็จนปัญญา เวลายังไม่เจอของจริงก็เก่งกันเสียเต็มประดา ธรรมบางอย่างกว่าจักรู้ก็สายเสียแล้ว เดี๋ยวจักหาว่า โล้นซ่าไม่เตือนนะขอรับ เจ้านายยยย....
เจริญธรรม ฯ
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น